คาดว่าหลายคนคงเคยมีประสบการณ์ที่มีคนโทรศัพท์มาขายประกันทางโทรศัพท์โดยหักค่าใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต
ผมเองก็คนหนึ่งที่เคยหลวมตัวทำไปแล้ว หลายคนก็มีความเข้าใจที่แตกต่างกันไป จึงขอนำมาเขียนให้อ่านในแต่ละแง่มุม
โทรศัพท์ขายประกันของแท้ไม่น่ากลัว
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้ออกระเบียบในการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางช่องทางโทรศัพท์ไว้ ตามประกาศของ
คปภ. ลงวันที่ 18/5/2552 (ถ้าไม่ทำตามดังต่อไปนี้
แนวโน้มเป็นโบรกเกอร์ของปลอม) เงื่อนไขสำคัญที่ควรทราบคือ
1. เสนอขายได้ในช่วงวันจันทร์-เสาร์
ระหว่างเวลา 08.30-19.00 น. เท่านั้น
2. เริ่มต้น
คนเสนอขายต้องแจ้งชื่อ-นามสกุล เลขที่ใบอนุญาตตัวแทน/นายหน้าประกันภัย
พร้อมทั้งแจ้งว่า เป็นการขายประกันภัย (แต่ส่วนใหญ่เท่าที่เจอจะอ้อมแอ้มหรือชวนคุยเรื่องอื่น
เราก็ตามตรง ๆ เลยว่าเสนอขายประกันภัยหรือป่าว)
2.1
ถ้าเราไม่อยากรับฟังต่อ
เขาต้องยุติการสนทนาทันที และไม่ติดต่อกลับอย่างน้อย 6 เดือน ในกรณีที่เราต้องการทราบว่า
ได้ข้อมูลติดต่อของเรามาได้ยังไง คนเสนอขายประกันต้องตอบที่มาของข้อมูลก่อน
จึงจะวางสายได้ (แต่ส่วนใหญ่จะรีบวางสายแต่แรกก่อนโดนเราถาม)
2.2
ถ้าเราสนใจจะรับฟังการเสนอขาย
คนเสนอขายจะต้องขออนุญาตบันทึกการสนทนาทุกครั้ง (บทสนทนาที่บันทึกไว้นั้นสามารถนำมาพิสูจน์ข้อเท็จจริงภายหลังได้กรณีเกิดข้อโต้แย้งขึ้น)
3. แม้เราหลวมตัวตอบตกลงทำประกันภัย
(ทางโทรศัพท์) แล้ว เราสามารถยกเลิกกรมธรรม์ได้ภายใน 30 วัน
นับจากวันที่ได้รับกรมธรรม์ และต้องได้รับเบี้ยประกันภัยคืนเต็มจำนวน โดยไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆ
ทั้งสิ้น (เท่าที่เคยหลวมตัวมา มันจะยังไม่ตัดค่าใช้จ่ายจากบัตรเครดิตทันที)
4. บริษัทที่รับทำประกันภัยนี้ต้องโทรกลับหาผู้เอาประกันภัยอีกครั้ง
ภายใน 7 วันนับจากวันที่บริษัทส่งกรมธรรม์
เพื่อยืนยันความต้องการทำประกันภัยอีกครั้ง (เท่าที่เคยเจอ ไม่เห็นโทรมาเลย
อาจจะเป็นเพราะผมแจ้งยกเลิกเสียก่อน)
5. ในภาพรวมการสนทนาแล้ว
คนขายต้องอธิบาย เรื่องต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย
5.1
ชื่อ เบอร์โทร คนขาย
5.2
สรุปผลประโยชน์ และ
ข้อยกเว้น (ส่วนใหญ่บอกไม่หมด หรือบอกหมดแบบให้เราเข้าใจผิด)
5.3
เบี้ยประกัน
ระยะเวลาชำระ ระยะเวลาคุ้มครอง
5.4
วิธีชำระเบี้ย
วันที่เริ่มคุ้มครอง
5.5
แจ้งสิทธิการยกเลิกได้ภายใน
30 วัน ยกเว้น
5.6
เมื่อเราตกลงทำ เราจึงค่อยแจ้งชื่อ
- สกุล –เลขบัตรประชาชนของเรา (ถ้าจู่ ๆ ก็ถามชื่อ – เลขที่บัตรเรา
แสดงว่ากำลังถูกมัดมือชกให้ทำแล้ว)
เขาขายประกันแบบไหน
ประกันที่เสนอขายโดยทั่วไปจะเป็น
· ประกันอุบัติภัย
· ประกันสุขภาพ
· ประกันสินเชื่อ
(จ่ายหนี้บัตรเครดิตให้เผื่อเรามีอันเป็นไป)
เขาขายประกันอย่างไร
เท่าที่ประสบมา
มักจะตะล่อมถามเรื่องอื่นก่อน แล้วจะหลอกให้เราซื้อแบบเนียน ๆ
โดยถามคำถามที่ให้เราตอบแบบเข้าทางเขา เช่น
· เงื่อนไขที่เขานำเสนอน่าสนใจมั้ย
· แพงมั้ยเมื่อเทียบกับความคุ้มครอง
· ควรมีไว้มั้ย
เผื่อมีเหตุฉุกเฉิน
· มีบริการตัดบัตรค่าใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตให้ด้วยเพื่อการคุ้มครองจะไม่ขาด
คุณว่าดีมั้ย
ถ้าเราตอบแบบเห็นด้วยว่า ใช่เลย น่าสนใจ
เขาจะถามวิธีสะกดชื่อ นามสกุล ของหมายเลขบัตรประชาชน หมายเลขบัตรเครดิต ที่อยู่
ดังนั้นถ้าเขาถามแบบนี้เมื่อไหร่และเราไม่คิดจะทำแน่ ๆ
ก็ไม่ต้องบอกข้อมูลเหล่านี้แก่เขา
จะต่อกรกับการขายประกันแบบนี้อย่างไร
ง่าย ๆ เลยก็คือว่า ถ้าไม่คิดจะทำ ก็ไม่ต้องไปตอบในทางเห็นด้วย
เช่น “สนใจ” “น่าสนใจ” “ตกลง” หรือทันทีที่เขาบอกว่า
กำลังจะแจ้งสิทธิประโยชน์ เราก็ตัดบทไปเลยว่า ไม่สนใจ ไม่ว่าเขาจะอธิบายอะไร
เราก็ตอบคำเดียวว่ายังไม่สนใจ เพราะโดยทั่วไปเขาจะเริ่มต้นด้วยคำพูดประมาณว่า
เขากำลังจะแจ้งสิทธิประโยชน์แก่เราในฐานะสมาชิกบัตรเครดิต ผมรับรองเลยว่า
มันเป็นการขายประกันแน่นอน เพราะถ้าเป็นโปรโมชั่นจากธนาคารที่ออกบัตรจริง เขามักส่ง
sms
หรือโบรชัวร์มาให้เราทางไปรษณีย์แล้ว
จงจำไว้เลยว่า คำตอบแบบเออออห่อหมกของเรานี่แหละครับ
มันคือคำอนุญาตให้บริษัทประกันสามารถหักค่าเบี้ยประกันภัยผ่านบัตรเครดิตได้ การชำระเบี้ยประกันโดยหักจากบัตรเครดิตที่เราถืออยู่ไม่เพียงแต่เป็นเป็นการประกันว่าบริษัทประกันจะได้รับการชำระเบี้ยประกันเท่านั้น
ในขณะเดียวกันมันยังเป็นการย้ายเจ้าหนี้จากบริษัทประกันให้เป็นธนาคารที่ออกบัตรเครดิตโดยปริยาย
เพราะถือว่าเจ้าของบัตรยินยอมชำระค่าเบี้ยประกันผ่านบัตรเครดิตแล้ว
ถ้าเราไม่จ่ายค่าบัตรเครดิตส่วนนี้ก้เข้าข่ายไม่ชำระหนี้บัตรเครดิต
ก็เตรียมติดประวัติเสียในเครดิตบูโรได้เลย ตามที่ผมเคยเขียนไว้ในหัวข้อ “บัตรเครดิตสุดคุ้ม pantip”
สำหรับใครที่หลวมตัวตอบตกลงไปแล้ว
สามารถแก้ไขได้โดยอาศัยอำนาจระเบียบที่ คปภ. ที่กล่าวไว้แต่แรก
เชิญอ่านได้ในตอนที่ 2 ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น