Sponsor Link

วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

การกู้เงินปิดหนี้แบบยอดมนุษย์เงินเดือน

หลายท่านคงเคยดูหนังเรื่อง “สุดยอดมนุษย์เงินเดือน” จะพบสภาพเหมือนชีวิตจริงของใครหลายคน (รวมทั้งผู้เขียนบทความคนนี้ด้วย) ที่มัวแต่ยุ่งเรื่องงานจนไม่มีเวลาให้กับความฝันของตัวเอง และเคยชินกับระบบเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน สิ่งที่ไม่ได้เอ่ยถึงในหนังเรื่องนี้คือการจัดการหนี้บัตรเครดิตอย่างมีชั้นเชิงนอกจากก้มหน้าก้มตาผ่อนกันไปตามอัตภาพ และไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะได้หลุดพ้นจากบ่วงหนี้ที่รัดตัว

ในที่นี้จะขอนำเสนอมุมมองโดยสรุปเติมสักเล็กน้อยสำหรับการพิจารณากู้หนี้มาปิดหนี้ครับ

สิ่งที่ต้องพิจารณาสำหรับการกู้หนี้มาปิดบัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคล
1. การยืมเงินเพื่อนหรือญาติพี่น้อง
วิธีนี้มักไม่มีดอกเบี้ยอะไรเลย นอกจากสินน้ำใจกันเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ต้องไม่ลืมว่าหากวันใดที่เพื่อนฝูงหรือญาติพี่น้องเขาต้องการใช้เงินแต่ตอนนั้นท่านไม่มีเงินไปใช้หนี้ ท่านอาจจะติด black list ในลักษณะผิดใจกัน รับรองว่ามันจะติดตราบนานเท่านานที่เขายังมีชีวิตอยู่ (ไม่เหมือนกับเครดิตบูโรที่เก็บรายการไว้แค่ 3 ปี)
ดังนั้น ไม่ว่าเขาเหล่านั้นไม่เคยมาทวงเงินก็ตาม แต่การยืมแล้วไม่มีทีท่าว่าจะคืนเขาได้เมื่อไหร่นั้น คงเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้น มันจะเสียเครดิตชีวิตซึ่งสำคัญว่าเครดิตบูโรเสียอีก

2. การใช้สินทรัพย์มาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน
อัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อที่ใช้บ้านค้ำประกันจะถูกที่สุด รองลงมาเป็นสินเชื่อที่ใช้รถค้ำประกัน สองสิ่งนี้จะสามารถเปลี่ยนหนี้อัตราดอกเบี้ยสูงของบัตรเครดิตให้กลายเป็นหนี้ดอกเบี้ยต่ำลง ทำให้ได้ระยะการผ่อนต่อเดือนน้อยลง และมีระยะการผ่อนที่นานขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม้วิธีนี้จะทำให้ได้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำลง แต่ปริมาณดอกเบี้ยโดยรวมจะมากขึ้นเพราะการผ่อนที่ยาวนานและคำนวณจากก้อนหนี้เงินต้นที่สูงขึ้นนั่นเอง (เรียกว่า กินดอกเบี้ยน้อย ๆ แต่กินนานๆ)  

3. ธรรมชาติของธนาคารคือการกลัวหนี้เสีย
ในบทความเรื่อง “บัตรเครดิต คุ้มสุด pantip” ผมได้กล่าวตอนท้าย ๆ ว่า โดยปกติทั่วไปแล้วธนาคารจะพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้คืนด้วย ผมเคยพบคำแนะนำว่ายอดชำระหนี้ต่อเดือนไม่ควรเกิน 40% ของรายได้ต่อเดือน หากเกินจากนั้นธนาคารมักจะไม่อนุมัติสินเชื่อได้แม้จะมีบ้านหรือรถยนต์เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันก็ตาม

ดังนั้น ใครที่เคยสงสัยว่าเงินเดือนสูงแต่ทำไม่สมัครบัตรเครดิตไม่ผ่าน หรือทำไมดอกเบี้ยบัตรเครดิตมันโหด ส่วนหนึ่งมันก็มาจากการประเมินความเสี่ยงของเกิดหนี้สูญของธนาคารนั่นเอง ผมจึงแนะนำว่าหากต้องการใช้บริการสินเชื่อที่ดอกเบี้ยไม่สูงและและไม่ต้องการมีประวัติการชำระหนี้ในเครดิตบูโรแล้ว ให้ใช้บริการโรงรับจำนำแทนในบทความเรื่อง “แนวทางลดภาระดอกเบี้ยเงินกู้ภาคปฏิบัติ


4หาสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีโปรโมชั่นดอกเบี้ยต่ำ ผ่อนนาน
อัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อส่วนบุคคลโดยทั่วไปคือ 28% ต่อปี แต่ถ้ากู้ในจำนวนที่มาก ก็มักจะมีโปรโมชั่นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า ให้ผ่อนยาวกว่า และมักจะปิดยอดในช่วง 1 – 2 ปีแรกไม่ได้ อย่างไรก็ดี มันเป็นการกู้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน อัตราดอกเบี้ยที่ได้ก็ยังสูงอยู่ดี (ประมาณ 19% ขึ้นไป) ดังนั้น ก็เอาวิธีปิดหนี้บัตรเครดิตด้วยสินเชื่อส่วนบุคคลเป็นทางเลือกสุดท้ายก็แล้วกันครับ

หลายคนคนที่เป็นหนี้เพิ่มขึ้นเพราะไม่สำรวจตนเอง
ในความเป็นจริงของชีวิตเรานั้น บางครั้งมันก็มีเรื่องจำเป็นต้องก่อหนี้ก้อนใหม่กระทันหัน แม้พยายามประหยัดแล้วแต่สถานการณ์รอบตัวมันก็อาจจะไม่เป็นใจ ดังนั้น ถ้าประเมินแล้วว่าผ่อนหนี้ไม่ไหวจริงๆ ก็ควรรีบหาแนวทางแก้ไขแต่เนิ่น ๆ แม้อาจจะมีทางเจรจาขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับทางเจ้าหนี้ได้ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเจ้าหนี้จะยอมเจรจาทุกครั้ง ยิ่งกว่านั้นถ้าเคยมีประวัติการการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในเครดิตบูโรแล้ว กว่าจะรอให้ประวัติถูกลบก็คงต้องรออย่างน้อย 3 ปี ระหว่างที่รอนั้น การขอสินเชื่อต่าง ๆ มักจะเป็นไปได้ยากขึ้น

ดังนั้น ก่อนที่หนี้ใหม่จะเกิดขึ้น การเตรียมการไว้ล่วงหน้าก็เป็นสิ่งที่ดีกว่า เช่น การมีเงินสำรองเพียงพอจะได้ไม่ต้องไปกู้ยืมเพิ่มให้เสียดอกเบี้ยอีก ซึ่งผมได้เคยแนะนำไว้ในบทความเรื่อง “หนี้บัตรเครดิตไม่บาน

จะเห็นว่า ถ้าเราไม่ระวังแล้ว เมื่อเราได้เป็นยอดมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้สูงขึ้น เราก็จะมีความสามารถในการก่อหนี้เพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้น แทนที่เงินเดือนสูงจะทำให้เรามีคุณภาพชีวิตดีขึ้น จะกลายเป็นว่าเราเครียดมากขึ้นเพราะหนี้ที่เราสร้างขึ้นมานั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น