ที่มาที่ไป
เครดิตบูโร มาจากคำว่า National Credit Bureau Co., Ltd. หรือบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด จัดตั้งโดยกระทรวงการคลัง
เป็นหน่วยงานกลางทำหน้าที่จัดเก็บ “ข้อมูลการชำระหนี้สินในระบบ” วัตถุประสงค์การเก็บคือ
เป็นฐานข้อมูลให้สถาบันการเงินใช้วิเคราะห์ในการปล่อยกู้ จะได้รู้ว่าควรปล่อยกู้หรือไม่
ปล่อยเท่าไหร่ (เท่านั้นแหละ) ที่มาของหน่วยงานนี้คือ ก่อนที่จะมีหน่วยงานนี้
โดยเฉพาะก่อนวิกฤติเศรษกิจปี 2540
นั้น การปล่อยกู้มีโอกาสเป็นหนี้เสียมาก เช่น ธนาคารไม่สามารถล่วงรู้เลยว่า
บางคนผ่อนรถผ่อนบ้านพร้อมกันโดยรายได้ไม่พอหรือไม่ บางคนทำหนี้เสีย (ชักดาบ)
กับสถาบันการเงินอื่นมาแล้วหรือไม่
ข้อควรทราบที่สำคัญ
ใครส่งข้อมูลให้เครดิตบูโรบ้าง
สมาชิกของเครดิตบูโร หลัก ๆ คือ สถาบันการเงินที่ให้บริการสินเชื่อครับ
เช่น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทไฟแนนซ์ต่างๆ เมื่อเรา (หรือนิติบุคคล หน่วยงานธุรกิจ) ไปใช้บริการสินเชื่อจากสมาชิกเหล่านี้แล้ว
ข้อมูลการชำระหนี้ให้สถาบันการเงินแต่ละครั้ง (งวด) จะถูกส่งเข้าไปเก็บที่เครดิตบูโร
เครคิตเก็บข้อมูลแค่ 3 ปีเท่านั้น แต่สถาบันทางการเงินอาจจะเก็บมากกว่า
ข้อมูลการชำระหนี้จะเก็บไว้ที่เครดิตบูโรแค่ 3 ปีเท่านั้น
ถ้าข้อมูลรายการใดมีอายุเกิน 3
ปีจะถูกเคลียร์ทิ้ง นั่นคือ แม้เราจะผ่อนบ้านแบบประวัติดีมาครบ 25 ปีแล้ว
แต่ประวัติชำระที่อายุต่ำกว่า 24
ปี 9 เดือนมันจะไม่อยู่แล้ว หรือในมุมกลับ
ใครที่เคยชักดาบ ชำระบัตรเครดิตช้ากว่ากำหนด
หรือเคยเข้าสู่กระบวนกฎหมายเพราะทำหนี้เสีย (เรียกทั่ว ๆ ไปว่า NPL)
ถ้าเรื่องมันจบเกิน 3
ปีแล้ว มันก็จะไม่อยู่เช่นกัน (เน้นว่าเรื่องจบนะครับ
เช่น เจรจาปรับโครงสร้างหนี้ เจรจาขอลดหนี้แล้วจ่ายครบ ถูกดำเนินคดีรับโทษแล้ว
ไม่ใช่ค้าง ๆ คา ๆ) หรือพูดทั่ว ๆ ไปว่าไม่ติดบูโร
อย่างไรก็ตามกฎหมายไม่ได้ห้ามเจ้าหนี้ว่าเก็บข้อมูลได้ไม่เกินกี่ปี ดังนั้น ถ้าเราเคยมีปัญหาหนี้เสียไว้กับธนาคารใด ธนาคารก็อาจจะเก็บข้อมูลไว้เป็น blacklist ของเขาเอง ถ้าเราไปข้อสินเชื่อหรือสมัครบัตรเครดิตกับธนาคารนั้นซ้ำ เขาก็อาจจะปฎิเสธเสียแต่แรก แม้เราไม่ติดบูโรแล้วก็ตาม
อย่างไรก็ตามกฎหมายไม่ได้ห้ามเจ้าหนี้ว่าเก็บข้อมูลได้ไม่เกินกี่ปี ดังนั้น ถ้าเราเคยมีปัญหาหนี้เสียไว้กับธนาคารใด ธนาคารก็อาจจะเก็บข้อมูลไว้เป็น blacklist ของเขาเอง ถ้าเราไปข้อสินเชื่อหรือสมัครบัตรเครดิตกับธนาคารนั้นซ้ำ เขาก็อาจจะปฎิเสธเสียแต่แรก แม้เราไม่ติดบูโรแล้วก็ตาม
ข้อมูลของเรา ใครก็ดูไม่ได้
ถ้าเราจะขอใช้บริการสินเชื่อทั้งหลาย (บัตรเครดิต กู้เงินซื้อบ้าน ผ่อนรถ) ผู้ให้กู้จะต้องให้เรากรอกเอกสารอนุญาตเปิดเผยข้อมูลเครดิตทุกครั้ง (ข้อมูลส่วนตัวเราเอง) และเราเองก็สามารถขอตรวจเครดิตบูโรของตนเองได้หลายช่องทาง ได้แก่ ศูนย์ตรวจของบริษัท ผ่านเคาน์เตอร์ของธนาคารที่ให้บริการ ผ่านตู้ ATM ผ่านระบบ i-mobilebanking และผ่านระบบ internetbanking เป็นต้น
มันมีทั้งดีและแย่ แล้วแต่โอกาส
โดยหลักแล้ว สถาบันการเงินใช้วิเคราะห์พฤติกรรมการเป็นหนี้ของเราครับ
นั่นคือประกอบ พฤติกรรมการก่อหนี้และพฤติกรรมการชำระหนี้ ซึ่งสะท้อนความรับผิดชอบและวินัยทางการเงินของเราเอง
ดังนั้น ถ้าเรามีวินัยทางการเงินดี (ตามเงื่อนไขของผู้ให้กู้) เราก็จะมีโอกาสได้รับอนุมัติสินเชื่อมากขึ้น
ซึ่งผมได้แนะนำให้สร้างประวัติที่ดีในเครดิตบูโรด้วยการใช้บริการสินเชื่อผ่อนสินค้าที่เราต้องใช้อยู่แล้วในบทความเรื่องสมัครบัตรเครดิตอย่างไรให้ผ่าน
อย่างไรก็ตาม
แม้ไม่เคยมีประวัติเสีย แต่ถ้าสถาบันการเงินประเมินว่า
เรามีภาระหนี้เกินกว่าที่จะรับผิดชอบเพิ่มได้ เขาก็จะไม่อนุมัติสินเชื่อใด ๆ
ทั้งสิ้น ตามภาพครับ
สิ่งที่มักเข้าใจผิด
เครดิตบูไรไม่ได้เอาไว้แสดงสถานะว่าใครเป็นเจ้าหนี้เหนือใคร
ดังนั้น แม้เราจะกู้เงินจากสถาบันการเงินเพียง 10% ของมูลค่าหลักทรัพย์ค้ำประกัน หรือจะทำบัตรเครดิตแบบมีเงินฝากค้ำประกัน
สถบันการเงินที่เป็นสมาชิกของเครดิตบูโรก็ยังต้องส่งประวัติการชำระหนี้ให้กับเครดิตบูโร
ผมจึงเคยแนะนำว่า ถ้าเราไม่อยากมีประวัติเสียจากการกู้ยืมเงิน (ในขณะที่หลักทรัพย์ค้ำประกันของเรามีมูลค่าสูงกว่ามูลหนี้)
ให้ใช้บริการโรงรับจำนำแทน
นอกจากนี้ การให้ความสำคัญของเครดิตที่ดี ไม่ได้แปลว่าจะพิจารณาเฉพาะเครดิตบูโรเท่านั้น ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่สถาบันการเงินใช้พิจารณาร่วมด้วย
นอกจากนี้ การให้ความสำคัญของเครดิตที่ดี ไม่ได้แปลว่าจะพิจารณาเฉพาะเครดิตบูโรเท่านั้น ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่สถาบันการเงินใช้พิจารณาร่วมด้วย
กล่าวแบบสรุป
จากที่เขียนมาจะเห็นว่า
เครดิตบูโรไม่ได้น่ากลัวอย่างที่หลายคนดิด และยังช่วยยับยั้งหนี้เสียในภาพรวม
อย่าลืมว่า ถ้าหากหนี้เสียเพิ่มสูงเท่าไหร่
โอกาสที่ทางการจะอนุมัติให้เก็บดอกเบี้ยที่แพงขึ้นเพื่อชดเชยความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัวนั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น