ที่จริงในใบแจ้งนี่มันก็แสดงเคล็ด
(ลับ) ไว้ แต่เรามักไม่ค่อยสนใจอ่าน แล้วเวลาที่ธนาคารเขาจัดโปรโมชั่น ก็จะพูดแต่ว่า
ระยะปลอดดอกเบี้ยนานแค่ไหน (ถ้าชำระเต็มและตรงเวลา) แต่ไม่ค่อยบอกว่าทำอย่างไรให้จ่ายดอกเบี้ยน้อย
(ถ้าชำระขั้นต่ำ) มาทำความเข้าใจในประเด็นนี้ก่อนครับว่า
ระยะระหว่างวันสรุปยอด
(closing date) จนถึงวันครบกำหนดชำระ คือวันปลอดค่าติดตามทวงถามเท่านั้น
ไม่ใช่วันปลอดดอกเบี้ยเสมอไป
ระยะเวลานี้ เป็นเวลาที่กำหนดว่า
ระหว่างช่วงนี้เราจะไปชำระเมื่อไหร่ก็ได้ ตราบเท่าที่ยังไม่พ้นวันครบกำหนดชำระ
เราจะปลอดจากค่าติดตามทวงถาม (ก็เท่านั้น) และแน่นอน ทุกคนคิดว่า
ยิ่งจ่ายช้าที่สุดได้ ยิ่งรู้สึกว่าได้กำไร (แต่ที่จริงคือการขาดทุนมหันต์
เมื่อเราจ่ายขั้นต่ำ)
จากภาพ วันสรุปยอดคือทุกวันที่
9 ของแต่ละเดือน และวันครบกำหนดชำระคือ ทุกวันที่ 24 ของเดือนเดียวกันนั้น สมมติเหตุการณ์เพื่อขยายความได้ว่า
- ถ้าเรารูดบัตรวันที่ 9 เราจะต้องชำระคืนในวันที่
24 ในเดือนเดียวกันนั้น (เดือน 10) ระยะปลอดดอกเบี้ยมีแค่ 15 วัน
- แต่ถ้าเรารูดบัตรวันที่ 10 (เดือน 10) รายการจะขึ้นใบแจ้งยอดของเดือนต่อไป
(เดือน 11) เราจึงรอชำระคืนวันที่ 24
ของเดือนถัดไป (เดือน 11) นั่นคือเราได้ระยะปลอดดอกเบี้ยถึง 44 วัน
ทั้งนี้ต้องชำระเต็มเท่านั้น
ระยะปลอดดอกเบี้ยที่นานมันเป็นเรื่องดีสำหรับคนที่หาช่องเอาไปทำกำไรได้
และสามารถชำระยอดเต็ม แต่เป็นดาบสองคมเพราะมันคือระยะเวลาที่คำนวณดอกเบี้ยที่มากขึ้นแบบไม่รู้ตัว
(ถ้ายังค้างชำระหรือชำระขั้นต่ำ) ถ้าไม่เชื่อ
จ่ายบัตรขั้นต่ำให้ดอกน้อยลง (อีกนิด) ตอน 2/3 : ถ้าจ่ายขั้นต่ำล่ะ เขาคำนวณดอกเบี้ยอย่างไร
หมายเหตุ
ตามภาพ ผมทำเรื่องหักค่าใช้จ่ายผ่านบัญชีเงินฝาก 100% จึงไม่มีขั้นต่ำ 10% ถ้าไม่เข้าใจลองอ่านเพิ่มใน สมัครบัตรเครดิตอันไหนดี
ตอนที่ 1/2 ดูครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น