คำถามแนะนำที่มักพบตาม Google คือ “สมัครบัตรเครดิตที่ไหนดี pantip” แสดงถึงความนิยมในการค้นหาข้อมูลจากผู้มีประสบการณ์ตามเว็บบอร์ด
ผมลองค้นหาคำนี้
หรือแม้แต่ “บัตรเครดิต คุ้มสุด pantip”ใน Google เท่าที่ดูในเว็บบอร์ดแล้ว
แต่ละคนก็มักจะบอกว่าของค่ายนั้นค่ายนี้ (ตามที่ตัวเองชอบ)
ก็เลยอยากจะเสนอในมุมมองของผม เผื่อจะเป็นไอเดียสำหรับหลาย ๆ ท่าน
จะได้ใช้บัตรเครดิตแบบคุ้มค่าเต็มๆ
หลักการง่าย
ๆ ที่ผมใช้ประจำ (สมัครหลายบัตรบ่อย ยกเลิกอันที่ไม่ชอบ จนเกือบจะประจำ) คือ
1. เลือกโปรโมชั่นให้เหมาะกับวัตถุประสงค์การใช้จริง
a. อย่าเพิ่งไปตื่นตากับสิ่งที่ดูหรูแต่เราไม่ได้ใช้
หรือใช้แล้วกลับเพิ่มภาระให้เรา ผมเคยยกตัวอย่างว่า ผมปฏิเสธเซลล์บัตรเอเม็กซ์ ไม่ใช่เพราะโปรโมชั่นมันไม่ดี
แต่โปรฯที่เขามี ผมไม่มีโอกาศได้ใช้เลย และยังต้องมีค่าใช้จ่ายทั้งค่าธรรมเนียมรายปีและค่าธรรมการชำระเงินผ่านบริการเคาน์เตอร์ (อ่านเพิ่มถ้าสนใจ)
b. ประเมินดูว่า เราน่าจะใช้โปรฯอันไหนบ้าง และโปรฯที่บัตรเครดิตให้ มันยาวนานแค่ไหน
เช่น ส่วนลดเติมน้ำมัน ส่วนลดชอปปิ้ง (เอาแบบที่เราซื้อของประจำอยู่แล้วนะครับ)
เงินคืนเมื่อชอปปิ้งต่างประเทศหรือซื้อของผ่านเว็บต่างประเทศ (เงินคืน มันมาจากการค้ากำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของธนาคาร)
ร้านอาหาร (เป็นหัวหน้างาน พาลูกน้องไปฉลองประจำ) การประกันภัยสำหรับการเดินทาง (คนที่ต้องเดินทางด้วยบริการขนส่งสาธารณะและเอาบัตรเครดิตซื้อตั๋วได้
เดี๋ยวนี้รถทัวร์หลายเจ้าก็รับบัตรเครดิตแล้ว)
c. อย่าสนใจโปรฯพวกชิงรางวัลมาก มันไม่ได้ช่วยอะไรเรามาก
2. วิธีการชำระคืน
a. ความง่ายในการหาที่ชำระ บางบัตร (ที่ผมเคยถือ) ชำระได้เฉพาะที่บริการของธนาคารของเขาเท่านั้น
บริการเคาน์เตอร์ตัวแทนก็เกือบไม่มี
b. มีทางเลือกสำหรับชำระโดยไม่มีค่าธรรมเนียม
อันนี้ต้องเลือกที่เหมาะกับการใช้งานจริงนะครับ บางธนาคารขนาดจ่ายหน้าเคาน์เตอร์ตัวเองก็ยังมีค่ารรมเนียม
แต่พอหักผ่านบัญชีของธนาคารอื่นๆกลับไม่มี
c. ดูเงื่อนไขการชำระผ่านการหักบัญชีเงินฝากให้ดี บางธนาคาร เมื่อท่านแจ้งความจำนงค์ว่าให้หักชำระ
100% ตามใบแจ้งหนี้ ธนาคารจถือว่า
ยอดชำระขั้นต่ำของท่านคือ 100% (ไม่ใช่ 10%) แม้ท่านจะชำระนอกรอบรวมกันแล้ว 99% ธนาคารก็ยังถือว่าท่านค้างชำระ (ว่ากันตามตัวอักษร และเจ้าหน้าที่ call
center ก็จะถูกโปรแกรมมาให้รับรู้เท่านี้) และจะมีผลต่อข้อมูลเครดิต
(เครดิตบูโร) ดูภาพตัวอย่างได้
d. ควรมีโปรแกรมประเภทแบ่งจ่ายรายเดือน (ไม่จำเป็นต้องดอกเบี้ยพิเศษเสมอไป) อันนี้ควรมีสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน
เพราะการใช้บริการแบ่งจ่าย จะทำให้แต่ละงวดบัญชีของเราเป็นการชำระเต็ม ไม่มีดอกเบี้ยสูงเหมือนการจ่ายขั้นต่ำ
(ผมเคยยกตัวอย่างไว้ว่าทำไมดอกเบี้ยมันจึงดูสูง ๆ ทั้ง ๆ ที่มันแค่ 20% ต่อปี ในหัวข้อ เทคนิคการปิดหนี้บัตรเครดิตด้วยสินเชื่อส่วนบุคคล) และยิ่งถ้าใช้บริการหักค่าใช้จ่าย 100% ผ่านบัญชีธนาคารแล้ว โปรแกรมนี้นับว่าต้องมี เพื่อป้องกันการมี black
list เพราะผิดพลาดทางเทคนิค (ทางธนาคารถือว่าเป็นความรับผิดชอบของเราในการบริหารจัดการหนี้ของเราให้สอดคล้องกับนโยบายเครดิตบูโร
/ เขายืดตามตัวอักษร) มีภาพตัวอย่างให้ดูครับ
e. ชำระแล้ว มีผลต่อการใช้วงเงินทันที บางธคารแปลกมาก ให้บริการตัดชำระผ่านบัญชีเงินฝากอัตโนมัติ
แต่จะมีผลต่อวงเงินก็หลังเที่ยงคืน (ทั้งๆที่เงินก็ดูดจากบัญชีเราไปแล้ว) แต่พอจ่ายผ่านหน้าตู้
ATM กลับมีผลต่อวงเงินคงเหลือทันที (ทั้งๆที่มันก็ธนาคารเดียวกัน)
อันนี้เป็นตัวอย่างการเตือนเรื่องเครดิตบูโร แม้ค้างเงินแค่หลักร้อย (ใช้บริการหักผ่านบัญชีเงินฝาก 100%)
การใช้บริการหักผ่านบัญชีเงินฝาก 100% จะถือว่าไม่มีขั้นต่ำ แม้จ่าย 99% แล้วก็ถือว่าค้างชำระ
3. ตัวอย่างการเลือกบัตร
ที่จะกล่าวต่อไปนี้ แนะนำพอเป็นแนวครับ
เพราะโปรโมชั่นต่าง ๆ อาจจะเปลี่ยนไปตามการทำตลาดบัตรเครดิตของแต่ละเจ้าไป ตัวอย่างการเลือก
เช่น
a. ถ้าเดินทางด้วยเครื่องบินบ่อย ลองดูว่าธนาคารไหนที่มีบัตรร่วมกับสายการบินบ้าง เช่น KBank กับ Air Asia หรือว่า KTC กับการบินไทย (KTC Royal Orchid) b. ถ้าชอบเข้าห้างเซ็นทรัล ก็แน่นอนว่าควรถือบัตรเครดิตของเขาเลย เพราะจะได้ส่วนลดเมื่อเอาบัตรของเขารูดซื้อของในห้างของเขา
c. ถ้าชอบเข้าพารากอน เดอะมอลล์ เอ็มโพเลี่ยม หรือห้างในเครือ ก็คงเป็น Citi M แน่ ๆ
d. ถ้าชอบเข้าบิ็กซี ก็มีบัตรร่วม Citi ของบิ๊กซี และแน่นอนที่ไม่ลืมคือ ชอบเข้าโลตัส ก็ควรใช้บัตรของเขาไป ได้โปรโมชั่นเต็ม ๆ
e. ถ้าไม่ได้ชอบห้างไหนเจาะจง ก็อาจจะดูโปรโมชั่นอื่น ๆ เช่น ชอบเงินคืน (cash back) ตอนนี้ของ SCB ก็น่าจะโอเคสุด พวกส่วนลดเติมน้ำมัน ก็จะมีบัตรกรุงศรี บัตรธนชาต บัตรสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ หรือประเภทเน้นที่กินที่เทียว เน้นผ่อน 0% ก็มักจะมีให้เลือกดูกันหลายเจ้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น