Sponsor Link

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สมัครบัตรเครดิต อันไหนดี (ตอน 2/2)


ตอนนี้ เป็นส่วนปลีกย่อยที่นับว่าสำคัญ สามารถเป็นเครื่องมือที่ช่วยบริหารการใช้บัตรเครดิตให้ดีขึ้น
ต่อจากตอนที่แล้ว เริ่มเลยนะครับ

1.       มีเงื่อนไขการยกเว้นค่ารรมเนียมรายปีชัดเจน
a.       โดยทั่วไป มักจะยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมปีแรก
b.      ปีต่อไป จะมีเงื่อนไขต่างกันไปแต่ละธนาคาร เช่น ฟรีทุกปีโดยไม่มีเงื่อนไขอะไรเลย หรือใช้อย่างน้อยกี่ครั้งต่อปี หรือใช้จ่ายผ่านบัตรอย่างน้อยกี่บาท
c.       ผมว่ามันสะดวกกว่าการที่แต่ละปีต้องโทรไปขอยกเว้น หรือขูว่าจะยกเลิกถ้าไม่ยกเว้น มันวุ่นวายชีวิต
2.       สมัครผ่านเว็บสะดวกดี เพียงเตรียมเอกสารไว้ หลังกรอกข้อมูลลงเว็บไม่กี่วัน จะมี messenger มารับเอกสารถึงที่
a.       เว็บไซต์ของธนาคารโดยตรง
b.      เว็บไซต์ตัวแทน (อาจจะมีโปรฯเพิ่มนอกเหนือที่ธนาคารให้ หรือให้คำแนะนำเพื่อมีโอกาสสมัครผ่านมากขึ้น) เลือกเอาที่เขาทำมานาน น่าเชื่อถือหน่อยละกันครับ
c.       ระวังการสมัครผ่านโทรศัพท์ของ sub contract ไม่ได้แปลว่าคนเข้ามาเป็นคนร้ายเสียหมด ประเด็นคือ เราเองก็ไม่รู้ว่าของจริงของปลอม จะหลอกเอาเอกสารเราไปแอบสมัครเอาสินเชื่อแล้วเชิดเงินเราหรือป่าวก็ไม่รู้ เป็นข่าวให้เห็นทั่วไป
d.       เตรียมเอกสารที่ขีดคาดสำเนา ลงชื่อทุกใบ และเตรียมไว้พอดีกับจำนวนบัตรที่จะสมัครเท่านั้น บางที sub contract ก็หวังได้คอมมิชชันจากยอดสมัครมาก ๆ ก็จะบอกให้เราเตรียมไว้เยอะ ๆ ไม่ต้องลงชื่อ อาสาจะเอาไปสมัครบัตรอื่นให้ วิธีนี้เปิดช่องให้ทุจริต ไม่ต่างจากเอาเอกสารเราไปแอบอ้างสมัครบัตรเครดิต แม้เราจะยกเลิกได้เมื่อไม่ใช้ แต่ถ้าถูกเอาไปใช้ก่อนล่ะ หรือถูกขโมยก่อนล่ะ งานเข้าแน่นอน (เป็นการป้องกันกลโกงที่มาจากบัตรเครดิต)
3.       ดูว่าบริการอื่นๆที่ฟรีที่อาจจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารการเงิน
a.       บริการ internet banking บริการนี้จะช่วยให้เราเห็นรายการใช้จ่ายผ่านบัตรของเราโดยไม่ต้องรอใบแจ้งหนี้ นอกจากนั้น เอาไว้ทำรายการชำระบัตรเครดิตได้ด้วย
b.      บริการผูกบัญชเงินฝาก ใช้บริการ ATM บัตรเครดิตบางธนาคาร สามารถเอาบัตรเดียวกันมาทำหน้าที่เป็นบัตร ATM ได้ด้วย แต่เดิมนั้นจะไม่มีค่าธรรมเนียมเพิ่ม ภายหลังมาก้เริ่มทยอยเก็บค่าธรรมเนียมกัน  ข้อดีคือ ไม่ต้องไปเสียค่าธรรมเนียม ATM รายปี หรือจ่ายค่าทำบัตร Debit ซ้ำ ไม่ต้องพกบัตรเพิ่ม แต่มีข้อเสียคือ ถ้าบัตรหาย เราจะไม่มี ATM ไว้กดเงิน แต่ทั้งนี้ก็แล้วแต่วัตถุประสงค์การใช้งาน ธนาคารที่ให้บริการลักษณะนี้มี 

  •      ธนาคารกรุงเทพ 
  •      ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (ผูกกับบัตรกรุงศรีเฟิร์สชอยซ์เท่านั้น) 
  •      ธนาคารไทยพานิชย์ (มีค่าธรรมเนียม 200 บาท / ปี) 
  •      ธนาคารกสิกรไทย (มีค่าธรรมเนียม 200 บาท / ปี)
c.       บริการหักค่าสาธารณูปโภคอัตโนมัติ อันนี้ส่วนใหญ่มีหมด บางท่านอาจจะเคยได้ยินว่าไม่ควร เพราะจะทำให้เราไม่มีโอกาสดูค่าใช้จ่ายส่วนนี้มันมากผิดปกติหรือเปล่า แต่ผมว่า ถ้ามันต้องใช้ และต้องจ่าย เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ การให้ตัดผ่านบัญชีบัตรเครดิต ก็สะดวกกว่า ไม่มีค่าธรรมเนียมด้วย ส่วนค่าโทรศัพท์มือถือ แนะนำว่าไม่ต้องทำตัดอัตโนมัติผ่านบัตรเครดิต เพราะเป็นสิ่งที่เรามักใช้จนเพลิน เกินค่าใช้จ่ายจริง และผู้ให้บริการมือถือส่วนใหญ่ก็มีเว็บไซต์ให้บริการชำระผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยบัตรเครดิตอยู่แล้ว

ลักษณะการให้บริการบัตรแต่ละราย (เท่าที่เคยมีประสบการณ์การถือครอง) ผมถือมาหลายบัตรแล้ว บางบัตรยังไม่เคยถือครับ บางบัตรผมก็ยกเลิกไปแล้ว 


1. บัตรใบบัว: ให้วงเงินต่ำ สมัครผ่านยาก (ที่สมัครผ่านเพราะอาศัยเส้นรองผู้จัดการสาขา) ขอเพิ่มวงเงินชั่วคราวก็ได้ไม่เยอะแถมยังมีเงื่อนไขอีกว่าจะต้องซื้อสินค้า/บริการที่จำเป็นจริง ๆ เช่นจ่ายค่าหมอ ไม่ต้องหวังว่าชาตินี้เขาจะปรับวงเงินให้เอง โปรโมชั่นก็ไม่ค่อยเด่น คะแนนสะสมมีอายุแค่ 2 ปี เพราะเขาไม่เน้นลูกค้ารายย่อย แต่มันทำให้เกิดข้อดีบางด้านคือ ไม่มีการโทรมาให้สมัครประกันอะไร จ่ายช้าก็มีแต่ดอกเบี้ยจ่ายช้า (ไม่มีค่าติดตามทวงหนี้แบบโหดๆ) ถ้าใช้เกิน 5,000 บาท/ ปี ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียม 

2. บัตร KTZ บัตรนี้ผมว่าใจดีสุด ขอเพิ่มวงเงินชั่วคราวง่าย ทำเรื่องแบ่งจ่ายรายเดือนก็ง่าย (เงื่อนไขน้อย) จ่ายช้ากว่ากำนดไป 6 วันก็ไม่โดนดอกเบี้ย ไม่โดนค่าติดตาม (แต่ถ้าเกินจากนั้น โดนทันที 250 บาทและค่าอื่นๆ อีกนิดหน่อย)  พิจารณาปรับวงเงินให้ไม่บ่อย (ตั้งแต่ใช้มา ปรับให้ทีเดียว 4 เท่าของเงินเดือน จากนั้นก็ไม่ปรับอีกเลย) ที่ชอบคือ ค่าธรรมเนียมรายปีฟรีตลอดชีพและคะแนนไม่มีวันหมดอายุ

3. บัตรธนาคารเมือง อันนี้โปรโมชั่นต่าง ๆ ดี แต่ทุกอย่างเป๊ะๆตามสไตล์ชาติเมกา จ่ายช้าแค่ 2 วัน มีค่าติดตามทันที และอย่าเผลอจ่ายขั้นต่ำนะ เขาจะมีวิธีคำนวณดอกเบี้ยให้มันมาก ๆ โดยเพิ่มระยะเวลากำหนดชำระเพื่อเพิ่มจำนวนวันคำนวณดอกเบี้ย (อ่านเรื่อง แนวทางการจ่ายขั้นต่ำให้ดอกเบี้ยน้อยลงทั้ง 3 ตอน แล้วจะเข้าใจ) ขอเพิ่มวงเงินชั่วคราวได้ปีละแค่ 2 ครั้ง

4. บัตรเจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ ตอนนี้โอนมาธนาคารกรุงเก่าแล้ว ก็ตามสไตล์ใหม่ ตอนยังไม่ย้ายมานี้ต้องขอติเรื่อง Call Center เพราะติดต่อยากมากกว่าจะเจอเจ้าหน้าที่

5. ธนาคารใบโพธิ์ บัตรนี้พิจารณาเพิ่มวงเงินให้ทุกปี (ตามวันที่ครบรอบการถือ) มีโปรแกรมแบ่งจ่ายตามที่จัดรายการกับร้านค้าเท่านั้น ขอเพิ่มวงเงินชั่วคราวได้ปีละแค่ 2 ครั้ง  บัตรของเอาไปผูกบัญชีออมทรัพย์ทำเป็นบัตร ATM ได้ แต่มีค่าธรรมเนียม (เคยฟรี)

6. บัตรกรุงเก่า บัตรนี้ให้วงเงินน้อยพอ ๆ กับบัตรใบบัว จ่ายช้าได้ไม่เกิน 3 วัน เกินจากนั้นโดนค่าติดตามทันที โปรโมชั่นดีใช้ได้ (แต่ไม่เข้ากับสไตล์ชีวิตผมเลย) แต่ที่ชอบคือ ได้เงินคืนสำหรับเติมน้ำมัน

7. บัตรชาวไร่ชาวนาไทย บัตรนี้ให้วงเงินค่อนข้างสูง (ตอนสมัครผมมีฐานเงินเดือนไม่ถึงบัตรทองด้วยซ้ำ แต่ได้บัตรทองมา และวงเงินก็แบบบัตรทองด้วย) แต่อย่าจ่ายช้านะ แค่ 2 วันก็โดนเก็บค่าติดตามแล้ว แต่บัตรนี้จะไม่เก็บค่าธรรมเนียมเลยตั้งแต่การใช้งานในปีที่ 5 เป็นต้นไป ส่วนช่วงปีที่ 2 – 4 นั้น จะไม่มีค่าธรรมเนียมถ้ารูดใช้ปีละอย่างน้อย 12 ครั้ง


จะเห็นว่า ก่อนจะไปถึงขั้นตอนการสมัครบัตรเครดิตให้ผ่านนั้น การหาข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางเลือกว่าจะสมัครบัตรเครดิต อันไหนดี ตามตอน 1/2 และตอนนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังมองหาบัตรเครดิตที่ถูกใจได้อย่างดีพอสมควร อย่างไรก็ดี อย่าเป็นหนี้หัวโตนะครับ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น